สำนักข่าวเกียวโด ของญี่ปุ่น รายงานว่าแหล่งข่าวจากรัฐบาลญี่ปุ่น ที่เปิดเผยว่ารัฐมนตรีต่างประเทศจากแต่ละประเทศในกลุ่ม G7 จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องการกระชับความสัมพันธ์กับประเทศกำลังพัฒนาในกลุ่มประเทศซีกโลกใต้ (Global South) และสถานการณ์ที่จีนกำลังมีอิทธิพลเพิ่มมากขึ้นในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก
ขณะที่นายโยชิมาสะ ฮายาชิ รัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประธานการประชุม 3 วันนี้คาดหวังว่า จะส่งสารที่ชัดเจนเกี่ยวกับความสำคัญของการรักษากฎระเบียบระหว่างประเทศ
รัสเซีย ลั่น พร้อมทำลายรถถังจากชาติตะวันตก-สหรัฐฯ
ชายรัสเซียถูกจับ เพราะลูกสาววาดภาพต่อต้านสงคราม
ทั้งนี้ก่อนเริ่มการประชุมวันนี้ 17 เม.ย. รัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่น ได้เน้นย้ำถึงจุดยืนให้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นอย่างตรงไปตรงมาในเชิงลึกเกี่ยวกับประเด็นต่างๆร่วมกับกลุ่มสมาชิก G7 ซึ่งรวมไปถึงเรื่องของยูเครน อินโด-แปซิฟิก จีน เกาหลีเหนือ และตะวันออกกลาง
นอกจากนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศของญี่ปุ่นยืนยันว่า จะเดินหน้าปฏิเสธอย่างหนักแน่น ต่อความพยายามในการเปลี่ยนแปลงสถานะที่เป็นอยู่โดยใช้กำลังแต่เพียงฝ่ายเดียว หรือการรุกรานยูเครนของรัสเซีย ตลอดจนการข่มขู่ด้วยใช้อาวุธนิวเคลียร์
นอกจากนี้ ยังมีรายงานจากแหล่งข่าวรัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า กลุ่มประเทศ G7 อาจเพิ่มแรงกดดันต่อรัสเซียได้ โดยมั่นใจว่า มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจจะมีประสิทธิภาพ และสามารถทำได้ โดยการใช้วิธีปิดช่องโหว่ที่ทำให้รัสเซียสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูงได้
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเรื่องของความร่วมมือกับกลุ่มประเทศซีกโลกใต้ ซึ่งมีความสำคัญในการรักษาระเบียบระหว่างประเทศกับหลายประเทศ รวมถึงอินเดีย ซึ่งแสดงท่าทีที่เป็นกลาง อยู่เหนือความขัดแย้งในยูเครน และละเว้นจากการคว่ำบาตร หรือประณามรัสเซีย
อย่างไรก็ตามจากการประชุมของสมาชิกกลุ่ม G7 ในครั้งนี้ ศาสตรจารย์ เจมส์ บราวน์ อาจารย์ด้านรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเทมเปิล ประเทศญี่ปุ่น คาดการณ์ว่าจะมีการมุ่งหารือไปที่ประเด็นด้านความมั่นคงของยุโรป และอินโด-แปซิฟิก
ขณะเดียวกันก็มองว่าการประชุมครั้งนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นจะแสวงหาถ้อยแถลงที่ชัดเจนจากสมาชิกกลุ่ม G7 ซึ่งรวมถึงคำมั่นสัญญาต่อการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ และตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาด้านความมั่นคงในอินโดแปซิฟิก
นอกจากนี้ ศาสตรจารย์ เจมส์ บราวน์ ยังวิเคราะห์ด้วยว่า เหตุผลหนึ่งที่ญี่ปุ่นแสดงท่าทีสนับสนุนยูเครนอย่างแข็งแกร่ง เพราะต้องการ การสนับสนุนจากยุโรป และการสนับสนุนจากชาติตะวันตกมากขึ้นเกี่ยวกับปัญหาในเอเชียตะวันออก และการให้สัมภาษณ์ของประธานาธิบดีเอ็มมานูเอลมาครง ของฝรั่งเศสในประเด็นเรื่องไต้หวันได้สร้างความกังวลใจให้กับญี่ปุ่น เพราะดูเหมือนว่า สิ่งนี้จะสะท้อนให้เห็นว่า ไต้หวันเป็นประเด็นสำคัญสำหรับเอเชีย ไม่ใช่ยุโรป
นอกเหนือจากเวทีเกี่ยวกับที่หารือเกี่ยวกับด้านความมั่นคงแล้ว ยังมีอีกเวทีที่หารือเกี่ยวกับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม พลังงานและสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจัดขึ้นที่ เมืองซัปโปโร (Sapporo) ทางตอนเหนือของญี่ปุ่นในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา
โดยเวทีดังกล่าว กลุ่มประเทศ G7 ได้มีการหารือกันเรื่องความมั่นคงด้านพลังงาน และแหล่งพลังงานสะอาด ซึ่งกลายเป็นประเด็นเร่งด่วน เนื่องจากปัญหาสงครามในยูเครน
ทั้งนี้ในที่ประชุมดังกล่าว กลุ่มประเทศ G7 ได้ร่วมกันตั้งเป้าหมายใหม่สำหรับการผลิตพลังงานจากลมและแสงอาทิตย์ โดยตกลงกันเร่งการพัฒนาแหล่งพลังงานสะอาด และลดการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล รวมถึงบรรลุเป้าหมายเรื่องการไม่ก่อก๊าซคาร์บอนเพิ่มภายในปี 2050คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง